วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2558

สังคมไทย ไร้ความขัดแย้ง"

ความขัดแย้ง หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ที่มีลักษณะของความไม่เป็นมิตรหรือตรงกันข้ามหรือไม่ลงรอยกันหรือความไม่สอดคล้องกัน ลักษณะของความไม่ลงรอยกันหรือไม่สอดคล้องกันนี้จะเกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ หลายประเด็น เช่น เป้าหมาย ความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยม ความสนใจ ความสัมพันธ์


 ความขัดแย้งในสังคมไทย มีมาตั้งแต่ในอดีต ตั้งแต่สงครามชิงราชบัลลังก็สมัยสุโขทัย กบฎยึดราชบัลลังก์สมัยอยุธยา กบฏโค่นอำนาจพระเจ้าตากสินมหาราช กบฏและรัฐประหารอีกไม่น้อยกว่า 27 ครั้งในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น กบฏ ร.ศ.130, กบฏนายสิบ, กบฏบวรเดช, กบฏวังหลวง, กบฏยังเตอร์ก, กบฏแมนฮัตตัน จนไปถึงการก่อกบฎเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิ.ย.2475 ซึ่งการก่อกบฏในประเทศไทยยังไม่ได้สิ้นสุดลงโดยสิ้นเชิง หลังจากนั้นก็เกิดความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ระหว่างรัฐไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี 2492-2525 และสิ้นสุดลงด้วยนโยบายการให้อภัย ตามคำสั่งที่ 66/2523 ต่อมาก็เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลเผด็จการกับกระแสเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชน ก่อให้เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และพฤษภาทมิฬ 2535  แต่ความขัดแย้งที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ ยังไม่ได้มีความรุนแรงเท่าความขัดแย้งทางการเมืองยืดเยื้อ เรื้อรังในขณะนี้ ที่เริ่มต้นเมื่อปลายปี 2548 และพัฒนามาเป็นความขัดแย้งระหว่าง กลุ่มความคิดเห็นทางการเมืองสองกลุ่มอยู่จนถึงทุกวันนี้ ความขัดแย้งยาวนานนี้ยังไม่มีใครรู้ว่าจะจบลงอย่างไร แต่ที่แน่ใจได้ก็คือ ผลกระทบของมันมีความรุนแรงมากหลายด้าน


จากเหตุการณ์ความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทย จึงมีข้อคิดเห็นต่างเกิดขึ้น และเริ่มมีการตั้งคำถามขึ้นมา
บทสัมภาษณ์


คำถามข้อที่ 1 คุณครูมีความคิดเห็นอย่างไรกับปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย
- ก็มีความคิดเห็นว่า ความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย เช่น คนรวยดูถูกคนจน
คำถามข้อที่ 2 คิดว่าปัญหาในสังคมไทยเรื่องไหนที่เป็นประเด็นใหญ่ที่สุด
- ก็เรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคม ที่เหมือนการแข่งขันมากเกินไป เช่น กรุงเทพ ในเมือง มีความเจริญ แต่พอออกมาแถวชานเมือง เช่น มีนบุรี ก็นึกว่า มีนบุรีเหมือนบ้านนอกถึงแม้จะอยู่ในกรุงเทพเหมือนกัน
คำถามข้อที่ 3 จากปัญหาที่กล่าวมามีผลกระทบอย่างไร
- ทีผลกระทบ เพราะคนแต่ละคนมีหน้าที่อาชีพที่ไม่เท่ากัน ยังไงมันก็ต้องมีปัญหากันเป็นธรรมดา
คำถามข้อที่ 4 อนาคตคิดว่าปัญหานี้จะเป็นอย่างไร
- ก็คิดว่ามันก็คงเป็นแบบนี้ต่อไป เพราะนิสัยส่วนตัวของคนไทยชอบเอาแต่สบาย ไม่ค่อยนึกถึงผู้อื่น ถ้าต้องแก้ก็อยากให้เริ่มแก้ที่ตัวเองก่อน เป็นอันดับแรก
คำถามข้อที่ 5 มีแนวความคิดในการแก้ไขปัญหาอย่างไร
- โดยการนึกถึงส่วนรวมก่อนที่จะนึกถึงตัวเอง เริ่มจากที่ตัวเราเองไม่ให้ไปเบียดเบียนหรือทำให้ใครเดือดร้อน คนอื่นจะได้ไม่ต้องเดือดร้อนเพราะเรา ไม่ต้องเป็นคนเลิศเลอหรือมีผลงานดีเด่น แต่ควรใช่ชีวิตในแต่วันโดยที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนแค่นี้ก็เพียงพอแล้ว
ความคิดเห็นของสมาชิกในกลุ่ม
นางสาวฐาปณีย์ พรหมสุรินทร์
                เป็นปัญหาที่เราต้องรับฟังความคิดเห็นซึ้งกันและกัน เพราะบางปัญหาอาจจะเป็นปัญหาเล็กๆ ที่อาจจะไม่เกิดความขัดแย้ง แต่ถ้าเราไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นกัน ก็จะทำให้เกิดความขัดแย้งได้
นางสาวชลลดา ด้วงจิต
                เป็นปัญหาที่มีความขัดแย้งที่เราทุกคนต้องหันมาพูดให้เกิดความเช้าใจมากยิ่งขึ้น ต้องอยู่รวมกันอย่างประชาธิป       ไตร ยอมรับฟังความคิดเห็นของแต่ละคน ช่วยกันกำจัดปัญหาความขัดแย้งให้หมดไปจากสังคมของเรา           
นางสาววิมลสิริ บุญเกิด
                ในปัจจุบันสังคมไทยมีแต่เรื่องต่างๆ วุ่นวายเต็มไปหมด ทั้งเรื่องการเมือง การศึกษา เศรษฐกิจ และความสงบ            ของประเทศชาติ จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาที่ประเทศไทยของเรามีความวุ่นวายเป็นอย่างมาก ทำให้หน่วยงาน       ทหารต้องออดมาดูแลความเรียบร้อย และควบคุมหน่วยงานเพื่อคุ้มเข้มทุกสถานการณ์ และตอนนี้ประเทศก็มี            ความสงบสุขดี
นางสาวสุภัสสร สนธิพงษ์
                ความคิดเห็นเรื่องของความขัดแย้งในสังคมไท ดิฉันคิดว่าที่ปัญหามันเกิดขึ้น เพราะความเห็นแก่ตัว และไม่รับฟัง   เหตุผล ของแต่ละคนความคิดตังเองเป็นใหญ่ที่สุด จึงเกิดความไม่เข้าใจซึ้งกันและกันจนปัญหามันลุกล่าม       ใหญ่โต มีผลกระทบและความเสียหายต่างๆ ทั้งทางด้านวัตถุสิ่งของ หรือ ทางด้านจิตใจ ของคนในสังคมที่อยู่                รวมกันดังนั้นเราควรปรับเปลี่ยนความคิด รับฟังผู้อื่น และเห็นแก่ส่วนรวม สังคมไทยจะได้สงบสุขละสามัคคีกัน              เหมือนที่ผ่านมา
นางสาวชัญภรณ์ พ่วงแพ
                ความขัดแย้งในเรื่องต่างๆ ภายในประเทศของเรา มันไม่มีผลดีเลยมีแต่ผลเสียที่มากขึ้นๆ ทั้งทำให้เราไม่เข้าใจกัน    ทำให้เราเกิดความขัดแย้งกันเองภายในสังคม เพราะทุกคนมีความคิดเป็นของตัวเอง แต่ความคิดนั้นอาจจะขัด  กับความคิดของคนอีกคน จนทำให้เกิดปัญหาต่าง ฉันอยากให้ทุกคนลองย้อนกลับไปมองอดีตว่าแต่ก่อนยากแค่              ไหนกว่าประเทศจะก้าวมาถึงวันนี้ความรักที่มีให้กัน ความสามัคคี ทั้งหมดนี้ทุกๆ คนเลือกที่จะทำได้ อยู่ที่ตัวเอง      เลือกที่จะทำ เลือกที่จะให้รอยยิ้มแทนความปวดร้าว และให้ไทยกลับมาเป็น "สยามเมืองยิ้ม "


สรุป
                
               ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทยมีแต่ผลเสีย เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นมีแต่จะทำให้ทุกๆอย่างหายไป เช่น ความรักความเอื้อเฟื้อกัน ความสามัคคีกัน ความเข้าใจซึ้งกัน ความเมตตา และ การให้อภัย ที่คนไทยเคยมี ดังนั้นในฐานะคนไทย พวกเราทุกคนควรเก็บรักษาความรัก ความสามัคคีที่พวกเรามีเอาไว้ไม่ให้ใครมาทำลายได้ ลดความเห็นแก่ตัว การอยากเอาชนะ หรือหนทางที่นำมาสู่ความขัดแย้ง และเปลี่ยนมาเป็น "การให้อภัย" เขาใจซึ้งกันและกัน ความขัดแย้งก็จะไม่สามารถมาทำลายพวกเราที่รวมกันเป็นหนึ่งได้ "ทุกคนเข้มแข็ง ประเทศไทยมั่นคง"


ขอพระองค์ทรงพระเจริญ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น